หน่วยที่ 4 เรื่องบุคคลสำคัญ

บุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทย



ชนชาติไทยมีประวัติความเป็นมาและมีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง มีบุคคลสำคัญหลายท่านทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ได้มีส่วนในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย ซึ่งไม่อาจกล่าวได้หมดทุกท่าน จึงเพียงยกตัวอย่างมาเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น



1. บุคคลสำคัญและผลงานในสมัยกรุงสุโขทัย

ตัวอย่างบุคคลสำคัญและผลงาน ที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในสมัยสุโขทัย เช่น

1.1 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ประดิษฐ์อักษรไทย
ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยเจริญสูงสุดและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างไกล ผลงานสำคัญของท่าน คือ ทรงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรไทยและมีการบันทึกลงในศิลาจารึกอันถือว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของไทย และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่ายิ่ง จากการที่พระองค์ ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนา วัฒนธรรมของสุโขทัยจึงมีอิทธิพลของศาสนาอยู่ในทุกแขนงและถ่ายทอดมาถึง ปัจจุบัน สุโขทัยมีการติดต่อค้าขายและมีไมตรีด้วยดีกับจีนมาโดยตลอด มีการส่งช่างทำถ้วยชามมาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน ทำให้ชาวสุโขทัยมีการทำถ้วยชามกระเบื้องและเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าออก     


1.2 พระมหาธรรมราชาลิไท

ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาและทรง

แตกฉานในพระไตรปิฎกมาก ทรงนิพนธ์ “เตภูมิกถา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” ซึ่งเป็นวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา ภาษาไทยเล่มแรก นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงวางแบบแผนคณะสงฆ์ตามแบบอย่างของลังกาอีกด้วย

2. บุคคลสำคัญและผลงานในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในยุคอาณาจักรอยุธยามีความเจริญสูงสุดในทุกๆ ด้าน ทั้งการเมือง การปกครอง การทหาร
การค้าขาย รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นราชธานีอยู่นานถึง 417 ปี มีกษัตริย์สืบต่อมาถึง 33 พระองค์

ตัวอย่างของบุคคลสำคัญที่ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมในสมัยอยุธยาที่สำคัญ เช่น

2.1 พระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นรัชกาลที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระปรีชาสามารถ
ทั้งการรบ การปกครอง การศาสนาทั้งพราหมณ์และพุทธ ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ “มหาชาติคำหลวง” (เวสสันดรชาดก) เป็นภาษาไทย


2.2 พระนารายณ์มหาราช ในสมัยพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยามีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติหลายชาติ พระนารายณ์มหาราชทรงรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับปรุงวัฒนธรรมไทย ในด้านต่างๆ ทรงปรับปรุงกฎหมายและตรากฎระเบียบขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง เช่น แก้ไขระเบียบธรรมเนียมเข้าเฝ้า การแต่งกาย และทรงรับเอาความเจริญทางเทคโนโลยีและวิชาการต่างๆ มาใช้ในไทย เช่น การใช้ปฏิทิน ดาราศาสตร์

2.3 เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ได้ทรงนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง เช่น

กาพย์เห่เรือ ซึ่งได้รับคำนิยมว่าเป็นกาพย์ที่ดีที่สุดและทรงมีผลงานวรรณกรรมด้านศาสนา คือ

นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง

2.4 เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์เป็นชาวกรีกเดิมชื่อ คอนสะเแตนติน

ฟอลคอน เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยพระนารายณ์มหาราช จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ท่านมีคุณงามความดีและมีบทบาททางการค้าระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

2.5 ออกญาเสนภิมุข หรือยามาดา นางามาสา ความสัมพันธ์ไทยกับญี่ปุ่นปรากฏ

หลักฐานอย่างเป็นทางการในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มีชาวญี่ปุ่นที่ได้รับราชการมีความดีความชอบและได้รับการยกย่องได้แก่ ออกญาเสนาภิมุข หรือ ยามาดา นางามาสา มีตำแหน่ง เป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่นรับราชการตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถด้วยความซื่อสัตยสุจริตได้มีบทบาทสำคัญในการคลี่คลาย สถานการณ์วุ่นวายเนื่องจากปัญหาในการสืบราชสมบัติ หลังการสิ้นพระชนน์ของพระเจ้าทรงธรรมหลายครั้ง

2.6 เฉกอะหมัด คูมี ได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าทรงธรรม ให้เป็นพระยาเฉกอะหมัด

รัตนราชเศรษฐ์ ว่าที่เข้ากรมท่าขวาและจุฬาราชมนตรี ท่านมีบทบาททางการเมืองของชาวมุสลิมต่อกรุงศรีอยุธยานับว่าเป็นปฐมจุฬาราชมนตรีของอิสลามในประเทศไทย

3. บุคคลสำคัญและผลงานในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์

สมัยต้นรัตนโกสินทร์ได้นำวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของกรุงศรีอยุธยามาใช้ในเกือบทุกด้าน โดยนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและสถานการณ์บ้านเมือง ตัวอย่างบุคคลสำคัญและผลงานในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น

3.1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาหาราช (รัชกาลที่ 1)
 ทรงโปรดให้ย้าย
กฎหมายตราสามดวง
ราชธานีจากกรุงธนบุรีมาสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้น ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและพระพุทธรูปโบราณที่ถูกทอดทิ้งให้ชำรุดตามหัวเมืองต่างๆ มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 11 ในด้านศิลปะทรงรวบรวมรามเกียรติ์ ส่วนทางด้านเนติธรรมทรงโปรดให้ชำระกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่อยุธยาให้มีความเที่ยงธรรมและครอบคลุมมากขึ้นเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง




3.2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ในสมัยรัชกาลที่ 2

บ้านเมืองเริ่มสงบจากภัยข้าศึก ความเจริญทางวัฒนธรรมจึงมีความโดดเด่นและมีมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประพันธ์เป็นอย่างสูง ทรงนิพนธ์วรรณคดีเรื่อง อิเหนา สังข์ทอง ไกรทอง กาพย์เห่เรือ เสภาขุนช้างขุนแผน ฯลฯ

3.3 สุนทรภู่ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ศิลปินที่มีชื่อเสียงทางการประพันธ์อย่างมากที่สุดของไทย

ถือว่าเป็นกวีของประชาชน คือ สุนทรภู่ ท่านมีผลงานทางวรรณกรรมหลายประเภท คือ นิราศ บทละคร เสภา กลอน กาพย์ บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี คือ วรรณคดีเรื่อง “พระอภัยมณี”

3.4 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับเอา

วัฒนธรรมจีนมาดัดแปลงผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยเป็นอันมาก โดยเฉพาะงานการสร้างศิลปวัตถุและวัดวาอาราม เนื่องจากทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รัชสมัยของพระองค์จึงมีการสร้างและทำนุบำรุงวัดในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก งานศิลปกรรมวัฒนธรรมมุ่งสร้างเพื่อถวายแด่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์จารึกวรรณคดี ตำรา ความรู้ที่สำคัญๆ ไว้บนแผ่นศิลาติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถและรอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพน เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและรักษาวิชาการเหล่านั้นไว้ไม่ให้สูญหายไป

3.5 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบายเปิดประเทศและรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับปรุงผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ตระหนักถึงความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

3.6 เซอร์ จอห์น เบาริง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ทำ

เซอร์ จอห์น เบาริง
สนธิสัญญาเบาริงกับประเทศอังกฤษ โดยหัวหน้าคณะทูตที่มาเจรจา คือ เซอร์ จอห์น เบาริง ซึ่งสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นต้นแบบในการทำสัญญากับชาติตะวันตกอื่น แม้ผลของสนธิสัญญาเบาริงจะมีผลกระทบทางด้านการเมืองเพราะชาวต่างชาติที่มาติดต่อกับไทยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฏหมายไทยก็ตาม แต่ก็ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากการผลิตในครัวเรือนมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมในเรื่องการยกเลิกการเกณฑ์ไพร่และแรงงานในเวลาต่อมา เซอร์ จอห์น เบาริง ยังได้มีบทบาทเป็นผู้สำเร็จราชการดูแลกงสุลไทยในยุโรป และเป็นราชทูตแห่งสยามไปเจริญสนธิสัญญาการค้ากับประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และเบลเยี่ยม




3.7 หมอบรัดเลย์ หมอบรัดเลย์เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน ที่มีบทบาทสำคัญต่อ

ประวัติศาสตร์ไทย คือท่านได้สั่งแท่นพิมพ์ภาษาไทยเข้ามาตั้งโรงพิมพ์แห่งแรก ทำให้กิจการหนังสือพิพม์เกิดขึ้นในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเมืองไทยคือ บางกอกรีคอร์เดอร์ เป็นของชาวต่างประเทศ ส่วนวารสารฉบับแรกของไทยออกโดยทางราชการไทยได้แก่ ราชกิจจานุเบกษา ความก้าวหน้าทางการพิมพ์ทำให้มีการเผยแพร่ประวัติ ตำนาน ขนบธรรมเนียม ความรู้และศาสนา ระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติ ก่อให้เกิดความเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีของกันและกัน ช่วยให้การติดต่อระหว่างกันสะดวกสบายขึ้นเป็นอันมากนอกจากนี้หมอบรัดเลย์ได้เริ่มเป็นผู้วางรากฐานวิชาการแพทย์สมัยใหม่ในประเทศไทยโดยได้เริ่มเป็นผู้ทำการผ่าตัดครั้งแรกในเมืองไทย





3.8 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงได้รับการยกย่องเป็น

พระปิยะมหาราช ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถสุขุมคัมภีร์ภาพจนรอดพ้นจากลัทธิ ล่าอาณานิคมทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้สอดคล้องกับตะวันตก ทรงมีพระราชดำริให้เลิกทาสเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มีความเสมอภาคในสังคมไทย นอกจากนี้ยังทรงปรับปรุงการคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา จนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศไทยมาจนทุกวันนี้

3.9 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในรัชสมัยของ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ กำลังรุกล้ำหนักจึงทรงปรับปรุงและปลูกฝังวัฒนธรรมไทยให้คนไทยรักชาติ มีสำนึกในความรับผิดชอบต่อชาติและนิยมไทยมากขึ้น ทรงตั้งกองเสือป่าเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่อุดมการณ์ชาตินิยมในหมู่สมาชิก



ตัวอย่าง ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย







สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2405 - 2486) มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร" ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงส่งเสริมการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และการศึกษาของชาติ

พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่

1.1) ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2435 - 2458 และมีบทบาทสำคัญในการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลจนประสบความสำเร็จ ทรงตั้งมณฑล 18 มณฑล จังหวัด 71 จังหวัด และเสด็จออกตรวจราชการหัวเมืองสม่ำเสมอ

1.2) ทรงฝึกหัดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เพื่อปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย



2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่

2.1) ทรงค้นคว้าในทางพงศาวดารและโบราณคดี ทรงมีงานประพันธ์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก เช่น ไทยรบพม่า พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ จนได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

2.2) ทรงว่าการหอพระสมุดสำหรับพระนครและริเริ่มการตั้งพิพิธภัณฑ์เมื่อ พ.ศ. 2470 ทรงประกาศรับซื้อหนังสือเก่าและรวบรวมของเก่า ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติ ทรงทำโรงเก็บราชรถ

2.3) ทรงริเริ่มในการพิมพ์หนังสือสำหรับแจกเป็นวิทยาทานในงานต่าง ๆ เช่น งานพระศพหรืองานวันประสูติ และขอแบ่งหนังสือส่วนหนึ่งเก็บไว้ในห้องสมุด ทำให้หนังสือความรู้ทั้งเก่าและใหม่ได้รับการพิมพ์แพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งได้รักการเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด

2.4) ทรงส่งเสริมการค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับไทยที่มีอยู่ในที่ต่าง ๆ

2.5) ใน พ.ศ. 2475 ทรงทดลองจัดตั้งสมาคมวรรณคดีและราชบัณฑิตยสภา แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ทรงถูกถอดออกจากการเป็นสภานายกหอพระสมุดและราชบัณฑิตยสภา

2.6) ทรงริเริ่มจัดตั้งหอจดหมายเหตุ หอรูป โดยทรงแยกจัดไว้เป็นแผนก ๆ คือ รูปคน รูปสถานที่ รูปเหตุการณ์ และนำมาไว้แห่งเดียวกัน ทำให้มีรูปเก่าตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน





พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช






พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า "ด้วง" หรือ "ทองด้วง" เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต ต่อมาได้เข้ารับราชการในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ ตำแหน่งหลวงยกกระบัตรประจำเมืองราชบุรี และปฏิบัติราชการที่เมืองราชบุรีจนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช หลวงยกกระบัตรได้รับราชการอย่างแข็งขันและมีพระปรีชาสามารถโดยเฉพาะด้านการสงคราม


พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ด้านการเมืองการปกครอง

1.1) ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

1.2) โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระกฎหมายให้ถูกต้องยุติธรรม เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" เพราะประทับตราสำคัญ 3 ดวง ได้แก่ ตราราชสีห์ของสมุหนายก ตราคชสีห์ของสมุหพระกลาโหม และตราบัวแก้วของกรมท่า

1.3) ทรงให้ขุดคลองรอบกรุง เช่น คลองบางลำพูทางตะวันออก คลองโอ่งอ่างทางใต้ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหมือนเกาะที่มีแม่น้ำล้อมรอบเหมือกับกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งสร้างกำแพงพระนครและป้อมปราการไว้โดยรอบ ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมปราการไว้โดยรอบ ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ1.4) ทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามกับรัฐเพื่อนบ้าน สงครามครั้งสำคัญ คือ สงครามเก้าทัพกับพม่า



2. ด้านเศรษฐกิจ

2.1) ในตอนต้นรัชกาลที่ 1 เศรษฐกิจยังไม่ดีเพราะมีการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ลดลงมาก แต่ในปลายรัชกาลบ้านเมืองปลอดภัยจากสงคราม ทำให้ประชาชนมีเวลาประกอบอาชีพ ส่วนการค้าขายกับจีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น มีเงินใช้จ่ายในการทำนุบำรุงบ้านเมือง สร้างพระนคร สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งสั่งซื้อและสร้างอาวุธเพื่อใช้ป้องกันพระราชอาณาเขต ทำให้บ้านเมืองและราษฎรเกิดความมั่นคงและมั่งคั่ง



3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม

3.1) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชวังและวัดให้มีรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ราษฎรให้เสมือนอยู่ในสมัยอยุธยาเมื่อครั้งบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้ลอกแบบพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทขึ้นมาใหม่ และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท" รวมทั้งโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วไว้ในเขตพระบรมมหาราชวังเพื่อใช้ในการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยอยุธยา

3.2) ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยการออกแบบกฎหมายคณะสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์อยู่ในพระธรรมวินัย โปรดเกล้า ฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดสุวรรณดารารามตลอดจนบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปที่ถูกทิ้งร้างตามหัวเมืองต่าง ๆ แล้วนำมาประดิษฐานไว้ตามวัดวาอารามที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น

3.3) ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีและประเพณีสำคัญสมัยอยุธยา เช่น จัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสมโภชพระนคร แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของการกอบกู้ราชธานีขึ้นมาใหม่ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับราษฎรและเป็นการรักษาพระราชพิธีโบราณ3.4) ทรงส่งเสริมงานวรรณกรรม โดยพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง โปรดเกล้า ฯ ให้แปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทย เช่น สามก๊ก ราชาธิราช แปลโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งวรรณคดีเหล่านี้ยังเป็นที่นิยมมาถึงปัจจุบัน